อาหารจัดการมะเร็ง

อาหารจัดการมะเร็ง

ช่วงนี้ทั้งคนทั้งสัตว์ที่คุ้นเคยต่างประสบกับภัยร้ายจากมะเร็งที่พรากทั้งชีวิตและจิตใจจากเราไปมากมายนับไม่ถ้วนแล้วครับ มะเร็งถือเป็นโรคอันดับต้นๆทีเดียวที่ทำให้คนไทยเราต้องจากโลกใบนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ ที่ไหนที่เปิดคลินิกรักษาโรคมะเร็งก็จะเห็นว่าคราคร่ำไปด้วยคุณพ่อคุณแม่ที่พาเจ้าสี่ขาทั้งหมาและแมวไปนั่งคอยคุณหมอกันอย่างน่าสลดหดหู่

เหตุก็เพราะว่าโรคๆนี้มักรักษาไม่หาย จะตายช้าตายไวก็เพียงเท่านั้น กระบวนการทุกๆอย่างที่หมอท่านใช้ จึงประกอบกันทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ทั้งการแพทย์สมัยใหม่และแพทย์สมัยเก่า ทั้งแพทย์ทางหลักและแพทย์ทางเลือก ผสมปนเปกันอีลุงตุงนังไปหมด เพราะต้องการ “balance” คำๆนี้สำคัญครับ คือต้อง balance ทุกๆอย่างจริงๆ เพราะสัตว์แต่ละตัวหรือคนแต่ละคนนั้นมีจุด balance ที่ไม่เหมือนกันเลย

สิ่งสำคัญที่หมอต้อง balance ร่วมกันกับเจ้าของก็คือ balance ระหว่าง “การมีชีวิตที่ยืนยาวออกไป” กับ “คุณภาพชีวิตที่ดีในปัจจุบัน” แพทย์แผนปัจจุบันใช้ยาในการจัดการกับตัวเซลล์เนื้องอก ขณะที่แพทย์แผนผสมผสานมองการจัดการแบบองค์รวมมากกว่า ดังคำพูดของ Dr. Donald Abrams ซึ่งเป็น Cancer and integrative medicine specialist ที่ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “I tell my patients that I think of cancer as a weed. Modern western oncology is focused on destroying the weed while integrative oncology concentrates on the soil the weed grows in and on making the soil as inhospitable as possible to the growth and spread of the weed.”

“ฉันเล่าให้คนไข้ฟังเสมอว่า มะเร็งก็เหมือนเมล็ดพันธุ์ การแพทย์สมัยใหม่ทางฝั่งตะวันตกมุ่งเน้นที่การทำลายเมล็ดพันธุ์ขณะที่การแพทย์ผสมผสานมุ่งเน้นที่ดินโดยการพยายามทำให้ดินไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์นั้นแทน”

กล่าวกันเสียยืดยาว ผมเองไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางที่ focus ด้านมะเร็งครับ แต่ในฐานะอายุรสัตวแพทย์ ผมต้องเจอกับสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้เดือนๆนึงไม่น้อย เราๆท่านๆก็ทราบดีว่าเจ้าโรคร้ายนี้แม้ในมนุษย์ยังพยายามที่จะหาวิธีการจัดการกับมันเพื่อให้คนไข้มีอายุยืนยาวที่สุดพร้อมๆกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดไปด้วย และก็ชัดเจนครับว่าหลายๆกรณีที่สองอย่างนี้มันไปด้วยกันไม่ค่อยจะได้ เพราะการทำลายแต่เฉพาะเซลล์มะเร็งโดยที่เซลล์ของ host ไม่ได้รับผลกระทบเลยนั้นเป็นไปแทบจะไม่ได้ ไม่มากก็น้อยครับที่ต้องเกิดผลข้างเคียง

ในฐานะพ่อแม่นอกจากจะพยายามประคับประคองสภาพจิตใจของเจ้าสี่ขาและตัวเราเองให้พร้อมที่สุดที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ให้เด็กๆมีความสุขกับเวลาที่เหลืออยู่แล้ว อาวุธชิ้นสำคัญที่เราทุกคนมีอยู่ในมือและสามารถใช้ได้ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังกันในวันนี้ก็คือ “อาหาร” ครับ

“Let food be thy medicine and medicine be thy food” เป็นคำพูดของ Hippocrates ที่โด่งดังมามากกว่า 30 ปี ภายใต้ข้อโต้แย้งมากมาย สิ่งนึงที่ผมเห็นว่าจริงคือเราต้องกินอาหารทุกวัน หากมันสามารถสร้างคุณประโยชน์แก่เราได้มากกว่าแค่เพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ เช่นสามารถรักษาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บได้ย่อมน่าสนใจไม่น้อย (thy = your: ภาษาโบราณ)

ปัจจุบันศาสตร์การใช้อาหารในการรักษาโรคมีให้ศึกษาอย่างแพร่หลายทั้งที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อครับ วันนี้ผมได้ลองค้นคว้าหาคำตอบกับคำถามที่ว่า อาหารอะไรเหมาะสมกับสัตว์ป่วยโรคมะเร็งบ้าง ลองติดตามอ่านกันดูได้เลย

#หากเป็นอาหารแบบ home-made คุณค่าทางโภชนาการควรเป็นอย่างไร

สิ่งที่เหนือกว่าคุณค่าทางโภชนาการสำหรับสัตว์ป่วยมะเร็งคือ “ขอให้เค้ากินได้เถอะครับ” หากไม่กินอาหารซะอย่างแล้ว มันจะวิเศษวิโสมาจาก 11 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดินก็ไร้ประโยชน์เพราะไม่ถูกกินเข้าไป หากเมื่อสัตว์ป่วยกินแล้วก็ค่อยๆปรับองค์ประกอบทางโภชนาการให้เป็นแบบ low carbohydrate, moderate fat และ moderate protein โดยเลือกโปรตีนคุณภาพดีและไขมันพร้อม profile ของกรดไขมันที่เหมาะสม และที่สำคัญต้องเพรียบพร้อมไปด้วยสารอาหารจากพืชผักครับ

ในบทความ Nutritional Alternatives for Cancer Patients ที่เขียนโดย Susan G. Wynn นั้น เขาได้ให้ guideline สำหรับการทำกับข้าวสำหรับสุนัขโรคมะเร็งเอาไว้ดังนี้ครับ

  • 50% เนื้อปลา หรือไก่ (ควรผลิตแบบ organic เพราะจะปลอดภัยจากสารพิษและสารเคมี)
  • 50% ส่วนผสมของผักสดหรือผักแช่แข็ง (แน่นอนว่าต้อง organic เช่นกัน)
  • มีการใช้น้ำมัน flax หรือ olive เป็นแหล่งพลังงานทางไขมันโดยเติมประมาณ 1 ช้อนชาต่อสุนัขน้ำหนัก 10 กิโลกรัม
  • ให้วิตามินและ mineral เสริมสุขภาพของมนุษย์แบบกินรายวัน โดย 1 dose สำหรับสัตว์หนัก 10 กิโลกรัมขึ้นไป และ 1/2 dose สำหรับสัตว์หนักต่ำกว่า 10 กิโล
  • ให้ calcium carbonate โดยประมาณ 250 mg ต่อน้ำหนักตัว 7-8 กิโล
  • (กรณีใช้ในแมวให้ปรับเป็นใช้เนื้อสัตว์ 80% และผัก 20% แทน และเสริม taurine ด้วยในขนาด 250-400 mg ต่อวัน)

สูตรอาหารที่ว่านี้เน้นเลยนะครับว่าไม่ balance ดังนั้นเราจึงควรตรวจประเมินสุขภาพของสัตว์อยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อการปรับแต่งสูตรอาหารให้เหมาะกับสัตว์แต่ละตัวเป็นระยะๆ ที่สำคัญคือไม่ควรใช้เนื้อสัตว์ดิบเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารโดยเด็ดขาดโดยเฉพาะในรายที่ได้รับเคมีบำบัดเพราะสัตว์กลุ่มนี้มีความอ่อนแอของระบบภูมิคุ้มกันทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อครับ และหากติดเชื้ออาการก็จะรุนแรงกว่าสุนัขปกติครับ

#เราสามารถใช้วัตถุดิบอาหารประเภทพริกหรืออะไรอย่างอื่นเพื่อเพิ่มความน่ากินได้ไหม

มีรายงานว่าพริกบางชนิดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งครับและแน่นอนว่าอาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มรสชาดอาหารได้ด้วย (แต่อย่าให้ hot จนเกินไปนะจ๊ะ) แม้แต่กระเทียมเพียงเล็กน้อย (มากไม่ได้เพราะเม็ดเลือดแดงอาจแตกได้) เช่น 1 กลีบต่อสุนัขน้ำหนัก 20 กก. และผงขมิ้นชัน (turmeric) 1 ช้อนชาต่อ 25 กก.สามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร home made เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาดอาหารได้

กระเทียมมีฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหารได้แม้ว่าเราจะทราบกันดีว่าหากมากเกินไปอาจทำให้เกิด oxidative injury ของเม็ดเลือดแดง คุณๆจึงควรตรวจ CBC กับ RBC morphology อย่างสม่ำเสมอ ไม่รู้ว่าลืม Heinz body กันแล้วหรือยังครับ

ขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีเพราะมีองค์ประกอบเป็นพวก curcumin ซึ่งเป็นสารตระกูล flavonoid ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง โน้มนำให้เซลล์มะเร็งเกิด apoptosis และยัง modulate การ expression ของโปรตีนหลายชนิดเช่น COX-2, 5-LOX, TNF, NF-kappa B, และอื่นอีกมากมาย สารสกัดจาก curcumin ดูดซึมเข้า systemic ได้น้อยจึงเป็นที่นิยมในการรักษามะเร็งระบบทางเดินอาหารครับ หากให้ขมิ้นชันขนาดจะอยู่ที่ 1 ช้อนชาต่อน้ำหนัก 25 กก. ที่ได้กล่าวมาแล้วแต่หากจะให้ curcumin ซึ่งเป็นตัวสารสกัดจากขมิ้นชัน อาจ extrapolate มาจาก dose ในคนที่ระบุในฉลากข้าง product ได้เลย

#Supplement ชนิดใดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งและปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน

สารเสริมอาหารหลายชนิดต่อไปนี้มีคุณสมบัติช่วยบำรุงร่างกายแต่หลายชนิดพบคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ทั้งในการทดลองแบบ in vitro และ in vivo การใช้ควรใช้ร่วมกันอย่างน้อย 10-15 ชนิดขึ้นไปดังนี้

#สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่ถูกแนะนำในคนไข้โรคมะเร็งอยู่บ่อยครั้ง เพราะอาจมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัด เสริมประสิทธิภาพการทำงานของเคมีบำบัด แต่ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระอาจมีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเคมีบำบัดได้ด้วยเช่นกัน เพราะเคมีบำบัดบางชนิดอาศัยปฏิกิริยา oxidation ในการทำลายเซลล์มะเร็ง อันนี้ถือเป็น controversy ของ antioxidant เลย

ผมเองเป็น fan การใช้ antioxidant กับสัตว์ป่วยโรคมะเร็งครับ โดยเฉพาะในกลุ่มคุณพ่อคุณแม่เลือกที่จะไม่ใช้เคมีบำบัดกับลูกๆ หลายรายใช้ antioxidant ด้วยวัตถุประสงค์อื่นอยู่ก่อนแล้วก่อนที่จะพบว่าเป็นโรคมะเร็ง เช่น Alzheimer ข้ออักเสบ และโรคหัวใจ การใช้ antioxidant นิยมใช้แบบ cocktail เพราะ antioxidant แต่ละตัวเมื่อให้ electron กับอนุมูลอิสระไปแล้วตัวเองก็จะกลายเป็นอนุมูลอิสระเสียเอง ดังนั้นการให้สารต้านอนุมูลอิสระหลายๆชนิดร่วมกันแบบ cocktail ก็จะต้านอนุมูลอิสระกันไปกันมาทำให้ได้ผลดีมากกว่า อันนี้เป็นไปในทางทฤษฎีนะครับ

#โอเมก้า3 ที่ใครๆก็ใช้ มีการศึกษาพบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการ proliferation ของเซลล์เนื้องอกใน cell line ได้ ต้านการแพร่กระจายหรือ metastasis ในสัตว์ทดลองและยังป้องกันภาวะ cachexia หรือซูบในคนไข้มะเร็ง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ benefit ต่อภาวะ SIRS (systemic inflammatory response syndrome) ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งก็เป็นได้ ขนาดที่แนะนำคือ 500-600 mg EPA and DHA ต่อสัตว์น้ำหนัก 5-10 กก. ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว

อีกอันที่ผมถือว่าเป็น fan คือ #flavanoid ที่ได้รับจากพืชครับ ผมใช้บ่อยในกรณีโรคหัวใจและโรคเมตาบอลิก มีการศึกษาถึงผลในการป้องกันเนื้องอกและมะเร็งอย่างกว้างขวาง ตัวที่เป็นที่รู้จักคือ resveratrol จากองุ่นแดง สารสกัด polyphenols จากชาเขียว และ phytoestrogens ที่ได้จากถั่วเหลืองและพืช นอกจากสามตัวนี้ยังมีตัวอื่นๆอีกเช่น curcumin ที่กล่าวไปแล้ว apigenin, anthocyanin จากเบอรี่ quercetin และอีกมากมายที่เป็นแหล่งของ flavonoid โดย action ที่พบจากการศึกษามีมากมายทั้งการกระตุ้น apoptosis หรือการตายของเซลล์ ยับยั้ง protein kinase สกัดกั้นการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ ป้องกันการสร้างหลอดเลือดหรือ angiogenesis ลดการแพร่กระจายหรือ metastasis และยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็งอีกด้วย

สารชนิดหนึ่งที่สกัดจากชาเขียวที่มีชื่อว่า epigallocatechin gallate (EGCG) พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของหลอดเลือดและต้านการเจริญแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ ในคนให้กันในขนาด 200mg วันละครั้ง และอาจ tolerate ได้ถึงวันละ 800mg เลยทีเดียว หากจะ extrapolate มาใช้ในสัตว์ก็แนะนำให้อยู่ในรูปสกัดอาจรบกวนต่อความอยากอาหารน้อยกว่าแบบ crude และค่อย titrate ขนาดการให้ขึ้นช้าๆเพื่อให้สัตว์ปรับตัวต่อการใช้สารสกัดชนิดนี้ ตัวผมเองไม่มีประสบการณ์การใช้นะครับ ไว้มีโอกาสจะกลับมาเล่าให้ฟัง

นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาพบว่าสารสกัดจาก turkey tail mushroom ที่มีชื่อว่า polysaccharide peptide (PSP) พบว่าสามารถยืดระยะรอดชีพในสุนัขที่ป่วยด้วยภาวะมะเร็งหลอดเลือดชนิด hemangiosarcoma หลังการตัดม้ามออกแล้ว อันนี้ผมว่าน่าสนใจเพราะก่อนหน้านี้ผมเคยเล่าให้ฟังถึง evidence ของ Yunnan baiyao มาแล้วในมะเร็งชนิดนี้ว่ามี promising evidence เช่นกัน

#เราจะทำอะไรได้อีกบ้างสำหรับมะเร็ง

เนื้องอกและมะเร็งเป็นโรคที่เกิดกับสัตว์สูงวัย ดังนั้นไม่ใช่แต่เพียงเนื้องอกและมะเร็งเท่านั้นที่เราต้องดูแล ปัญหาอื่นๆของสัตว์สูงวัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น ปวดข้อเพราะข้อเสื่อม สมองเสื่อมจาก Alzheimer หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือระบบขับถ่ายผิดปกติ ทั้งหมดล้วนแต่ส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิตของสัตว์ทั้งสิ้นครับ เราควรให้การดูแลทั้งหมดไปพร้อมๆกันด้วย holistic หรือ alternative medicine, physical therapy, การฝังเข็ม หรือศาสตร์อื่น ที่ integrative แบบองค์รวม เพราะสัตว์ก็เหมือนกับเราทุกคน เขาจึงควรมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ แม้ชีวิตที่เหลืออยู่จะเหลือไม่มากแล้วก็ตาม

#VetSikkha

#PETiS by Zuni&Vilar

ขอบคุณเนื้อหาจากเพจ VetSikkha”

บทความอื่นๆ